Tag Archive | "สิว"

สิวตามตำแหน่งต่างๆบนใบหน้าบอกอะไรเอ่ย ?


สิวในตำแหน่งต่างๆของร่างกายบอกอะไร ?

ศาสตร์เรื่องสิวมีหลายตำรามาก อันนี้ยกมาตำรานึงที่พูดถึงปัญหาสุขภาพ เพื่อใครที่เป็นสิวเรื้อรังขึ้นบริเวณเดิมๆ ลองดูสิ ว่ามีปัญหาภายในอะไรรึเปล่า ไม่นับสิวฮอร์โมนนะจ๊ะ อันนั้นขึ้นบริเวณเดิม ตำแหน่งเดิมปกติอยู่แล้ว และสิวที่เราจะมาพูดในวันนี้จะบอกถึงปัญหาสุขภาพภายในได้แม่นยำขนาดไหนต้องลองอ่าน และ อาจจะสังเกตุดูค่ะ

 

ส่วนที่ 1 สิวบริเวณใบหน้า

ตำแหน่งต่างๆบอกว่าเราอาจจะมีปัญหาสุขภาพภายใน

[ ภาพจากเว็บพี่บีม MarryBeam ผู้เชี่ยวชาญการรักษาสิวภายใน ]            

 

–  บริเวณหน้าผาก ( โซนที่ 1 และ 3 )

การเกิดสิวในบริเวณนี้เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบย่อยอาหาร กระเพาะปัสสาวะ และต่อมหมวกไต                       

สาเหตุ มาจากการมีความเครียดสูง  / การทารองพื้นที่หนาเกินไปและการแต่งหน้าบริเวณคิ้วมากไปแล้วล้างเครื่องสำอางค์ไม่สะอาด ก่อให้เกิดเป็นสิวขึ้นบริเวณนี้ได้เช่นกัน

วิธีการแก้ไข 

  1. ควรผักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้ตับทำงานได้มีประสิทธิภาพดีขึ้น 
  2. ดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพราะการดื่มน้ำจะช่วยเรื่องของการขับถ่ายและย่อยอาหาร
  3. ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 20-30 นาที รวมถึงหากิจกรรมต่างๆเพื่อคลายความเครียด
  4. ล้างเครื่องสำอางหรือแชมพูสระผมให้สะอาด หากมีการใส่หมวกเป็นประจำควรมีการทำความสะอาดหมวกให้สะอาดอยู่เสมอ

 

บริเวณกลางหน้าผากระหว่างคิ้ว ( โซนที่ 2 )

ปัญหาหลักอาจเกิดจากระบบการทำงานของตับ รวมไปถึงปัญหาของการย่อยสารอาหารจำพวกแลกโตส ซึ่งอยู่ในนมวัวหรืออาหารที่มีส่วนผสมของนมวัว

สาเหตุ เกิดจากการทานอาหารรสจัด และการทานอาหารดึกเกินไป รวมถึงรับประทานอาหารผลิตภัณฑ์นมวัวเพราะย่อยยากกว่าพวกนมถั่วเหลือง

วิธีการแก้ไข

  1. หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสจัด หรือการทานอาหารในช่วงดึก
  2. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่

 

บริเวณหูทั้งสองข้าง  ( โซนที่ 4 และ 10 )

การเกิดสิวในบริเวณนี้เกิดขึ้นจากปัญหาเรื่องการทำงานของไต และอุณหภูมิในร่างกายที่สูงเกินไป 

สาเหตุ เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม กาแฟหรือการกินเนื้อสัตว์มากเกินไป นอกจากนี้ยังเกิดจากการล้างแชมพูหรือสบู่ออกไม่หมด รวมไปถึงการใช้โทรศัพท์มือถือที่มากเกินไปก็มีส่วนดังนั้นควรทำความสะอาดโทรศัพท์ หรือ มือถือเป็นประจำ

วิธีการแก้ไข

  1. หลีกเลี่ยงอาการที่มีไขมันสูง เช่น ของทอด อาหารประเภท fast food, junk food ต่างๆ
  2. ทานผัก ผลไม้ที่ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย เพิ่มกากใยช่วยย่อยทำให้ร่างกายขับของเสียและความร้อนออก เช่น  แตงกวา แตงโม น้ำเต้า เป็นต้น
  3. รักษาความสะอาดบริเวณใบหูอย่างดี ล้างแชมพูและสบู่ให้หมดจด รวมไปถึงงดการใช้โทรศัพท์เป็นเวลานานเมื่อเกิดสิวบริเวณดังกล่าว

 

บริเวณแก้มทั้งสองข้าง ( โซนที่ 5 และโซนที่ 9 )

สิวบริเวณนี้เกี่ยวข้องกับปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจ ไซนัสและปอด 

สาเหตุ มาจากการสูบบุหรี่จัดหรือการแพ้ควันบุหรี่ มีอาการภูมิแพ้หรือหวัดเรื้อรัง การเลือกใช้รองพื้นที่ไม่เหมาะสม หรืออาจเกิดจากการแพ้อาหารทะเล รวมถึงการแพ้ปอกหมอน

วิธีการแก้ไข

  1. ลดการสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่แออัด เสี่ยงต่อการสัมผัสฝุ่นละอองและควันบุหรี่
  2. หลีกเลี่ยงการทานอาหารประเภทที่มีน้ำตาลและน้ำอัดลม
  3. ฝึกการออกกำลังกายเพื่อบริหารปอด เช่น การเต้นแอโรบิค ในช่วงเวลา 19.00-21.00 เพราะเป็นช่วงเวลาที่ปอดทำงานได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
  4. พยายามฝึกการขับถ่ายให้เป็นระบบและเป็นเวลา
  5. ดูแลความสะอาดอุปกรณ์แต่งหน้าอื่นๆให้สะอาดอยู่เสมอ
  6. หากรู้สึกว่าสิวเกิดขึ้นหลังจากการรับประทานอาหารทะเล ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
  7. ทำความสะอาดปลอกหมอนอย่างสม่ำเสมอ

 

บริเวณรอบดวงตาซ้ายและขวา ( โซนที่ 6 และโซนที่ 8 )

ปัญหาการเกิดสิวในบริเวณนี้เกิดจากการความผิดปกติของไต ปัญหาเรื่องโรคภูมิแพ้

สาเหตุ มาจากการเลือกใช้เครื่องสำอางที่ไม่เหมาะกับสภาพผิว หรือการใส่แว่นตาที่มีการเสียดสีกับรอบดวงตาจนเกิดเป็นสิวขึ้น การมีสารตกค้างในร่างกายมากเกินไป การพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมไปถึงการระคายเคืองที่เกิดจากอาการภูมิแพ้และการการขาดสารอาหารที่จำเป็น

วิธีการแก้ไข

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินสูงจำพวก ผลไม้
  2. เลือกใช้เครื่องสำอางที่เหมาะกับสภาพผิว
  3. ทำความสะอาดแว่นตาที่ใช้สม่ำเสมอ

 

บริเวณจมูกและริมฝีปาก ( โซนที่ 7 )

มีผลมาจากปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจ ระบบสืบพันธุ์ (การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน) ซึ่งหากมีมีผิวสีแดงเข้มที่จมูก อาจส่งผลมาจากระดับความดันเลือดสูงผิดปกติ

สาเหตุ มาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือน และช่วงตั้งครรภ์ การใช้ยาคุมกำเนิด นอกจากนี้ยังเกิดจากการแพ้ลิปสติกหรือยาสีฟัน

วิธีการแก้ไข

  1. งดอาหารที่มีรสจัดและมีส่วนผสมของเครื่องเทศและกระเทียม
  2. ทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ให้น้อยลง
  3. ดื่มน้ำในอุณหภูมิปกติ ( ไม่อุ่นหรือแช่เย็น )
  4. เลือกทานอาหารที่มีวิตามินบีสูงในระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
  5. เปลี่ยนลิปสติกหรือยาสีฟันที่ใช้เป็นประจำ

 

บริเวณด้านข้างของคางหรือช่วงกราม ( โซนที่ 11 และ 13 )

เกิดจากปัญหาเรื่องของระบบฟันและโดยเฉพาะกรามฟัน 

สาเหตุ อาจเกิดจากการขาดวิตามิน หรือเกิดจากหลังจากการทำฟัน หรืออยู่ในช่วงของการปรับเปลี่ยนฮอร์โมน

วิธีการแก้ไข

  1. แปรงฟันและดูแลสุขภาพฟันให้สะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการทำฟัน
  2. กินผักและผลไม้มากขึ้น
  3. มั่นตรวจสอบความผิดปกติของฮอร์โมน เมื่อมีสิวขึ้นบริเวณดังกล่าวผิดปกติ

 

บริเวณปลายคาง ( โซนที่ 12 )

มีผลมาจากระบบลำไส้เล็กและระบบการย่อยของกระเพาะอาหาร

สาเหตุ การเกิดสิวบริเวณนี้เกิดจากการเลือกทานอาหารที่มีรสจัดจนลำไส้เป็นแผล และปัญหาการดูดซึมอาหารของกระเพาะอาหาร

วิธีการแก้ไข

  1. ลดการทานอาหารที่มีรสจัด
  2. เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืนเพื่อง่ายแก่การย่อยของกระเพาะอาหาร 

 

บริเวณใต้คาง ( โซนที่ 14 )

สิวบริเวณนี้เกิดจากเรื่องของความเครียดเป็นหลัก รวมไปถึงความสะอาดของบริเวณดังกล่าว

สาเหตุ มาจากความเครียดของผู้เป็นสิว และการล้างเครื่องสำอาง หรือการล้างผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดผิวไม่สะอาด

วิธีการแก้ไข

  1. หากิจกรรมคลายเครียดหรือหลีกเลี่ยงเรื่องที่จะก่อให้เกิดความเครียด
  2. ล้างเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวให้สะอาด ไม่ให้ตกค้างในผิว

 

ส่วนที่ 2 สิวบริเวณลำตัว

 

สิวที่แผ่นหลัง

การเกิดสิวที่หลังมีผลเกี่ยวเนื่องมาจากระดับฮอร์โมนในร่างกาย  การอับชื้น การระคายเคืองของผิวหนังและปัจจัยสำคัญในการเกิดสิวอีกอย่างคือ การใช้ชีวิตประจำวันของเราเอง

สาเหตุ เกิดมาจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนของร่างกายโดยตรง เพราะแผ่นหลังเป็นจุดที่ต่อมเหงื่อและต่อมไขมันทำงานหนัก จึงง่ายต่อการเกิดสิว นอกจากนี้การใช้ชีวิตประจำวัน การไม่รักษาความสะอาดก็ก่อให้เกิดสิวที่แผ่นหลังได้ง่ายเช่นกัน เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่สะอาด การใช้ผ้าปูที่ไม่สะอาด เป็นต้น เมื่อเกิดความไม่สะอาดสะสมที่บริเวณแผ่นหลังจึงก่อให้เกิดการหมักหม่มของของเสียที่ขับออกมาได้ ทำให้เกิดเป็นสิวขึ้น  อาจเกิดมาจากกรรมพันธุ์ได้อีกสาเหตุหนึ่งด้วย

วิธีการแก้ไข

การรักษาสิวที่แผ่นหลังสามารถทำได้หลายวิธี โดยอันดับแรกต้องหาสาเหตุของการเกิดสิวที่หลังให้ได้ก่อนว่าเกิดจากอะไร เพื่อให้ง่ายต่อการรักษา เมื่อรู้สาเหตุแล้วก้อควรแก้ปัญหาให้ตรงจุด ตัวอย่างเช่น หากเกิดสิวเพราะความสกปรกหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ก็ควรรักษาความสะอาดของร่างกายสม่ำเสมอ หมั่นเปลี่ยนผ้าปูที่นอน หรือสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี การเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ใช้อยู่ไม่ว่าจะเป็นแชมพู หรือครีมนวดผม รวมไปถึงสบู่ก้อควรล้างให้สะอาดด้วย ไม่ให้ตกค้างที่แผ่นหลัง

หากสิวที่แผ่นหลังเกิดจากปัญหาเรื่องของฮอร์โมน ก็ควรเลือกรักษาให้ตรงจุด ซึ่งการใช้เลือกรักษานั้นมีหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาในการรักษา คือ ยาที่ใช้ทาหรือพ่นบริเวณที่เกิดสิว การทานยาเพื่อช่วยลดระดับฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งการเป็นสิวที่แผ่นหลังนั้นสามารถรักษาโดยใช้ยาแบบเดียวกับที่ใช้บริเวณใบหน้า ซึ่งการรักษานี้สามารถทำได้หลายวิธี แต่หากรักษาด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้น ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาต่อไป

ส่วนตัวเอิ๊กเองเวลารักษาสิวที่หลังและหน้าอก

  1. อาบน้ำเช็ดตัวให้สะอาดก่อนใส่เสื้อผ้า
  2. สระผมอย่าให้โดนแผ่นหลัง หรือ หน้าอก ให้ก้มหัวสระ
  3. สระผมก่อนแล้วค่อยถูสบู่เป็นลำดับสุดท้ายล้างน้ำเปล่าให้มากๆ
  4. เมื่อเช็ดตัวแห้งแล้วทายารักษาสิวทั้งหน้าอกหรือหลัง แล้วรอให้แห้ง
  5. หลีกเลี่ยงกันแดดที่อุดตัน หรือ ครีมบำรุงผิวที่อุดตัน
การรักษาสิวที่แผ่นหลังอาจไม่หายถาวร ขึ้นกับการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ การมีสิวที่หลังไม่ได้หมายความว่ารักษาความสะอาดไม่ดีพอ เพราะอาจเป็นส่วนผสมจากน้ำยาปรับผ้านุ่ม หรือ ครีมนวดผมที่ตกค้างอยู่บนเส้นผม ผสมเหงื่อก็ทำให้กลับมาเป็นอีกได้

 

 

ที่มา

http://bye-bye2acne.blogspot.com/

http://www.skinacea.com/acne/acne-face-map.html#.UI6YoG8j6So

http://webboard.ladytips.com/topic/9034

Posted in ACNEComments (4)

สิวฮอร์โมน รักษายังไง ?


” สิวฮอร์โมน เป็นเรื่องภายใน ไม่ใช่ภายนอก การรักษาจึงยากกว่าสิวประเภทอื่นๆมาก

* ทั้งกรรมวิธีที่เยอะ และ ที่สำคัญยาวนาน “

via @DrRungsima

สิวฮอร์โมนเกิดจาก

ภาวะไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ในที่นี่หมายถึง ” ฮอร์โมนเพศ “

เราทุกคนจะมีฮอร์โมนทั้งเพศชาย เพศหญิงอยู่ในร่างกาย และ มีสัดส่วนที่ต่างกันในคนแต่ละคน

เช่น เพศหญิง จะมีฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกายเยอะกว่าสัดส่วนฮอร์โมนเพศชาย

       เพศชาย จะมีฮอร์โมนเพศชายในร่างกายเยอะกว่าสัดส่วนฮอร์โมนเพศหญิง

การที่ผู้หญิงเกิดสิว อาจเพราะฮอร์โมนเพศชายในร่างกายของเพศหญิงมีสัดส่วนที่สูงกว่าปกติ

ทำให้เกิดลักษณะบางประการที่มีผลกระทบต่อผิวหนัง เช่น การที่เพศหญิงมีฮอร์โมนเพศชายในปริมาณสัดส่วนที่สูง ส่งผลให้

  • ผิวมัน
  • รูขุมขนกว้าง
  • ต่อมไขมันขนาดใหญ่
  • ก่อนเริ่มรักษาสิวฮอร์โมน

ต้องแน่ใจว่าเป็นสิวฮอร์โมนที่เกิดจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในร่างกาย เพราะการเกิดสิวลักษณะนี้ดูภายนอก อาจจะยังวัดไม่ได้ว่าเป็นจากฮอร์โมนหรือไม่

ลักษณะที่เด่นชัดของสิวฮอร์โมน

  • สิวจะขึ้น หรือ เห่อทุกครั้งเวลาที่เข้าสู่ช่วงมีประจำเดือน
  • ตำแหน่งสิวฮอร์โมน สิวจะขึ้นรอบปาก , คาง , กราม , ข้างแกม
  • ตุ่มสิวอักเสบ ขนาดใหญ่ รุนแรง เกิดเยอะ
ลักษณะของฮอร์โมนที่ไม่สมดุลที่เป็นได้ทั้งวัยรุ่น วัยทอง และอาการมักจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ
  • รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยเป็นประจำ
  • รู้สึกร้อนวูบวายภายในร่างกาย
  • รู้สึกจิตใจหดหู่ วิตกกังวล ความจำไม่ค่อยดี
  • รู้สึกปวดศีรษะ
  • น้ำหนักขึ้นหรือลงเร็ว
  • ภาวะบวมน้ำในร่างกาย
  • ผมร่วง
  • เป็นสิว
  • มีอาการก่อนมีประจำเดือน
  • คัดหน้าอก
  • อารมณ์แปรปรวน
  • ไม่มีอารมณ์ทางเพศ


ดังนั้นก่อนการรักษา สิวฮอร์โมนที่เรื้อรังไม่หาย อาจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากภายในจำเป็นต้องมีการวินิจฉัยว่าฮอร์โมนที่ไม่สมดุลนั้นเกิดจากอะไร ?

  • คนไข้ผู้หญิงบางคน อาจมีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • คนไข้ผู้หญิงบางคน อาจมีขนขึ้นเยอะกว่าปกติ เช่น หนวด ขนหน้าแข้ง
  • คนไข้ผู้หญิงบางคน อาจมีผิวมันมากกว่าปกติ เป็นสิวอักเสบได้ง่าย และ เยอะ
  • หรือ คนไข้ผู้หญิงบางคน อาจมีถุงน้ำที่รังไข่อยู่เยอะ (ซีสต์)

กรณีสุดท้ายทำให้บางคนจึงอาจต้องทำอัลตราซาวน์ระบบภายในบริเวณช่องท้องด้านล่างโดยสูติแพทย์ เขาจะพิจารณาขนาดของซีสต์ หรือ ถุงน้ำด้านล่าง เขาจะให้ยาปรับสมดุลฮอร์โมนให้รับประทาน ก็เป็นการรักษาถุงน้ำ และ สิวฮอร์โมนไปด้วย แต่ถ้าสุติแพทย์วินิจฉัยว่าถุงน้ำเล็กมากจนไม่ต้องรับประทานยา จึงส่งตัวกลับมารักษาวิธีปกติของสิวฮอร์โมนต่อไป

 

การรักษาสิวฮอร์โมนมีดังนี้

  • ทายาที่ขึ้นกับลักษณะสิวแต่ละแบบในเวลานั้น ทายาต้องใช้เวลาประมาณ 3 เดือนขึ้นไป
  • ทานยาปฎิชีวนะที่ต้องทานติดต่อกัน 3-6 เดือน เพื่อป้องกันเชื้อสิวเกิดการดื้อยา และ ไม่สามารถหยุดยาได้เร็ว ต้องค่อยๆลด
  • ทานยากรดวิตามินเอ รักษาสิวอักเสบ ข้อดี สิวยุบเร็ว ข้อเสีย สิวเห่อช่วงแรกๆ และ ผลข้างเคียงตับ ไต ไขมันในเลือดสูง ตาแห้ง ปากแห้ง มีผลต่อการพิการของเด็กในครรภ์
  • ทานยาคุม เพื่อปรับฮอร์โมนให้สมดุลควรปรึกษาแพทย์เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงเช่นฝ้า มะเร็งที่กระตุ้นด้วยฮอร์โมน เช่น มะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม
  • การฉายแสง หรือ เลเซอร์ สำหรับคนไข้ที่ไม่ตอบสนองต่อยาทา และ ยาทานหรือดื้อต่อการรักษาวิธีอื่น วิธีนี้จะทำให้สิวอักเสบ รวมถึงรอยแดงสิวลดลง เช่น การฉายแสง PHOTODYNAMIC THERAPY,LED,เลเซอร์ IPL โดยจะทาสารบางชนิดที่ชื่อ ALA เพื่อให้เกิดการดูดซับพลังงานแสง ซึ่งมีผลทำให้ฆ่าเชื้อสิว P.ACNE ได้ ทำให้สิวอักเสบยุบลงรวดเร็ว และช่วยลดการผลิตน้ำมันของต่อมไขมันได้ ข้อดี เห็นผลเร็วภายใน 2 สัปดาห์ ไม่เจ็บ ไม่มีผลข้างเคียงกับการทานยา หรือ ทายา ข้อเสีย เสียเดินทางไปทำนานเป็นชม.ๆ แพง ต้องทำบ่อยเดือนละประมาณ2ครั้ง เพราะเชื้อสิวจะเจริญเติบโตกลับมาอีกภายใน 1 สัปดาห์ และ ผิวเราจะกลับมามันอีกครั้งเป็นปกติ หากทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน
  • ปรับวิถีชีวิตใหม่ – วิธีที่ถ้าทำได้ยั่งยืน ดีต่อสุขภาพ ประหยัด ทานอาหารสดให้มาก (ออแกนิค), เน้นทานอาหารที่มีประโยชน์, ทานกระเทียม, ทานอาหารต้านอนุมูลอิสระ, ทานให้ได้สารอาหารครบ5หมู่ต่อวัน,ทานพืชผักผลไม้เยอะเพื่อเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนและได้ประโยชน์ต่อร่างกาย, ทานกรดไขมันที่จำเป็นที่ให้โอเมก้า3และ6อย่างเพียงพอ, ลดการทานน้ำตาลและไขมันที่เยอะเกินไป ,ลดน้ำหนักให้อยู่เกณฑ์ที่พอดีอย่าให้น้ำหนักมากไป เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนและพิษส่วนเกินฝังตัวอยู่ในเซลล์ไขมัน,นอนไม่ดึก,ไม่เครียด,ทานอาหารให้ถูกเวลา,ขับถ่ายทุกวัน,ออกกำลังกาย,ใช้ยาทุกประเภทด้วยความจำเป็นเท่านั้นเพื่อลดการทำงานของตับ และ ไต และไม่ให้เกิดพิษสะสม

 

สิวฮอร์โมนจะหายได้ไหม

สิวฮอร์โมนจะหายได้ก็ต่อเมื่อฮอร์โมนปรับเข้าสู่ภาวะสมดุลซึ่งเป็นได้เนื่องจาก

  • อายุที่เพิ่มขึ้นมากฮอร์โมนปรับเข้าสู่ภาวะสมดุลก็หายไปเอง

การรักษาสิวฮอร์โมนจึงเป็นแค่การประคับประครองดูแลในระหว่างที่ร่างกายมีภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลจากช่วงอายุนึงที่กำลังปรับฮอร์โมนให้อยู่ในภาวะสมดุลเมื่ออายุที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะ ทายา ทานยา เลเซอร์ ฉายแสง รักษาแผลเป็นสิว ป้องกันการเกิดแผลเป็นสิว หรือ การปรับวิถีชีวิตใหม่เพื่อสุขภาพที่ดียั่งยืนตามแบบศาสตร์ตะวันตก

 

ไม่อยากพบแพทย์ มีวิธีดูแลตัวเองอย่างไรเกี่ยวกับ สิวฮอร์โมน

  • หากรู้ว่าช่วงไหนมีประจำเดือนและสิวจะเห่อก็เตรียมยาแต้มสิวให้เรียบร้อย สิวเริ่มขึ้นก็รีบแต้ม

สิวฮอร์โมนอย่าปล่อยทิ้งไว้ให้เห่อ เมื่อสิวมาให้รีบแต้มยา เพื่อลดปัญหาการเกิดแผลเป็นสิว หลุมสิว หรือ สิวไตๆแข็งๆ ถ้าเห่อน้อยกว่า 10 เม็ดเราอาจจะรักษาเองได้ หากเกินแนะนำให้พบแพทย์

เขียนและเรียบเรียงโดย erk-erk.com

 

ขอบพระคุณเนื้อหา

– แกะเทปสัมภาษณ์ ผศ. พญ. รังสิมา วณิชภักดีเดชา

– เนื้อหา การดูแลระบบภายในจาก คุณบีม http://bye-bye2acne.blogspot.com/2011/05/blog-post.html

 

Posted in HOW TOComments (2)

การกดสิวที่ถูกวิธี – BEAUTY TALK


การกดสิวที่ไม่ถูกวิธีนอกจากจะทำให้เกิดการอักเสบแล้วยังมีโอกาสทำให้เกิดแผลเป็นตามมา รวมถึงการลุกลามของสิวเม็ดข้างเคียงของบริเวณที่กด ดังนั้นรู้หลัก อยากกดต้องศึกษาวิธีที่ถูกต้องค่ะ

Erk-Erk

สิวที่เราสามารถกดได้จะมีทั้งหมดประมาณ 3 ประเภท

  1. สิวหัวเปิด (หัวดำ)
  2. สิวหัวปิด (อุดตัน-สีขาว)
  3. สิวหัวหนอง

นอกนั้นห้ามเด็ดขาดค่ะ เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพผิว

ทำไมต้องกดสิว ?

บางคนการกดสิวอาจจะทำให้สิวหายเร็วขึ้นเช่นคนผิวมันมีสิวอุดตันอยู่เยอะและมีโอกาสที่สิวจะหลุดไปเองยากกว่าคนผิวแห้งเพราะน้ำมันใต้ผิวผลิตออกมาตลอดเวลา ถ้าไม่กดทั้งสิวหัวปิด หัวเปิด ก็อาจจะพากันอักเสบ เป่ง ช้าง ให้เครียดกันอีก บางคนชอบใช้มือกดเค้นไปเค้นมาห้อเลือดทันทีบวมเป่ง พอหายหลุมสิวมาเยือนรักษาอาจจะไม่หาย 100%

โดยส่วนตัวเคยใช้คัตตัลบัตเค้นจนเลือดออกแล้วยังเค้นอยู่จึงห้อเลือดและมีหลุมตามมา ดีที่ตื้น ยิงเลเซอร์ด้วยความร้อนปกติมันก็ฟูขึ้นมา ดังนั้นการเอาคอมีโดนจากสิวออก หรือกดสิวถ้ามีเลือดออกต้องหยุด อย่าไปต่อ !!!

อุปกรณ์กดสิวที่สำคัญ

1. ไม้กดสิวแสตนเลสสามารถซื้อตามร้านขายยา หรือ ร้านขายเครื่องมือแพทย์

2. แอลกอฮอล์

3. สำลี

4. ถุงมือที่ผ่านการฆ่าเชื้อ

5. เข็มฆ่าเชื้อใช้แล้วทิ้ง สำหรับสิวอุดตันหัวปิด / สิวหัวหนอง

ส่วนตัวกดเอง มีผงพิเศษ + น้ำเกลือ อิอิ

วิธีการกดสิวที่ถูกต้องมี 2 วิธีตามเทคนิคแพทย์

ขั้นตอนการกดสิ

1. เช็ดแอลกอฮอล์รอบๆผิวหนังที่ต้องการกดสิว


2. ใช้เข็มสะอาดเจาะกรณีที่เป็นสิวอุดตัน สิวหัวปิด 


3.ใช้ที่กดสิววางทาบลงไปแล้วใช้เทคนิค 1 หรือ 2 (ในภาพใช้วิธีที่2ทำมุม 45องศา ดันข้างสิว)


4. กดห้ามเลือดด้วยสำลี แล้วทาตามด้วยยาฆ่าเชื้อ (ส่วนตัวใช้สำลีชุบน้ำเกลือกด) 

ข้อดี
  1. ลดการเกิดการอักเสบของสิว
  2. ทำให้สิวอุดตันหายไปชั่วคราว เพราะสิวอุดตันกลับมาใหม่ตลอดเวลา
  3. ถ้ากดถูกจะไม่ทิ้งแผลหรือรอยแดงนานแล้วจะหายไป ถ้าปล่อยให้อักเสบมักมีรอยแดงใหญ่กว่า
  4. ผิวหน้าเรียบเนียนขึ้น
  5. ราคาถูก
ข้อด้อย
  1. เจ็บ 
  2. ไม่ควรกดทีเดียวทั้งหน้า ระบม
  3. บางครั้งมีการผิดพลาดที่การกด ทำให้อักเสบได้ในที่สุดอีกเช่นกัน 
จากประสบการณ์ส่วนตัว ให้แพทย์กดเป็นสิ่งที่ควรทำ หรือ ถ้าตัวเองเชี่ยวชาญพอก็ลองดูได้ แต่อย่ากดทีเดียวเยอะ กดซัก 2-3 เม็ดรอดูผล ส่วนใหญ่กดเองมักมีแผลรอยดำตามมา แพทย์ทีกดเก่งมากๆ ไม่รู้สึกเจ็บ ไว หายเร็ว สิวออกหมดเกลี้ยง รอยแดง 2-3 ชม.หาย แต่ตอนนั้นกดแพงมาก หลังๆเลยกดเอง 5555 ถ้าใครไม่ถนัดให้แพทย์เถอะค่ะ แผลเป็นไม่คุ้มเลย 😀
บทความนี้ทำขึ้นมาจากประสบการณ์ตรงที่รักษาสิวมาตลอด 10 กว่าปีในคลินิคคุณหมอ และ
สัมภาษณ์วิธีการกดแบบถูกหลักอนามัยโดยแพทย์หญิง นุสรา วงศ์รัตนภัสสร
XOXO

Posted in ACNE, HOW TOComments (6)

สิวผดรักษายังไงมีคำตอบ ?


www.erk-erk.com

www.erk-erk.com

www.erk-erk.com

สิวผด สิวผื่น สิวผดผื่น “ เม็ดเล็ก มาง่าย ไปยาก กวนใจ “

 www.erk-erk.com

เป็นอีกปัญหานึงที่ผู้หญิงมีปัญหาเยอะสุด เอิ๊กเคยเป็นเหมือนจะผดขึ้นช่วงนึงตอนนั้นยังหาสาเหตุไม่ได้ ก็ไปหาผศ.พญ. รังสิมาที่ ISKYCENTER ทายาหายแล้วเกลี้ยง พอหายไม่ได้ทา ซักพักเป็นใหม่ เลยคิดให้ดี นึกได้สุดท้ายมารู้ว่าเป็นเพราะ ล้างแชมพูครีมนวดไม่สะอาด ช่วงนั้นจากผด ไปๆมาๆ บางเม็ดอักเสบร่วมด้วย อยากเป็นลมมาก หน้าผากเป็นหลุมตื้นๆ ไม่เรียบไม่กล้าโชว์หน้าผากเลย ตอนนี้หายแล้ว เมื่อสระผมล้างน้ำเยอะๆ ให้เกลี้ยงให้สะอาด และ ใช้แสงเลเซอร์ให้ความร้อนกระตุ้นหลุมตื้นๆทำกับ ศ.นพ. วรพงษ์ ตอนนี้ 98%-99% มองไม่ค่อยเห็นละ เปิดเหม่งโชว์ได้ มั่นใจ

 www.erk-erk.com

รูปตอนเดือนกุมภาพันธ์ 55 รักษามาจนเกือบหายแล้ว สิวผดหน้าผาก

 

 รูปวันที่ 29 เมษา 55 เมื่อวานนี้ ลมพิษและผื่นขึ้นช่วงแก้ม เพราะความร้อนและฝุ่น และเครื่องสำอางผสมกัน

 www.erk-erk.com 

www.erk-erk.com 

สิวผด เป็นยังไง ?

ผื่นเม็ดใสๆเล็กๆ เป็นสิวประเภทนึงที่ชอบขึ้นติดกันหลายๆเม็ด บ่อยครั้งชอบขึ้นที่บริเวณหน้าผาก บางครั้งตอนเช้าหน้ายังเรียบใส อาจขึ้นในช่วงบ่ายก็เป็นได้ และ ถ้าอักเสบอาจจะมีสีแดง มีหนอง หรือ มีอาการคันร่วมด้วยได้ ถ้ารักษาไม่ถูกต้องอาจจะเป็นมากขึ้นได้

 

สาเหตุสิวผด ?

  • แสงแดด
  • ความร้อน 
  • เชื้อรา
  • เครื่องสำอาง อุปกรณ์แต่งหน้าที่ไม่สะอาด เช่น แปรง
  • เช็ดถู นวดหน้า ขัดหน้า หรือ ล้างหน้าบ่อย เช็ดใบหน้าแรง
  • แพ้น้ำ
  • แพ้เหงื่อ
  • สารที่ก่อให้เกิดระคายเคือง เช่น การใช้ยารักษาสิวประเภท Retinoic Acid, Benzoyel , alcohol , Peroxide AHA, BHA เป็นต้น
  • สบู่ หรือ โฟมล้างหน้าที่มีฟองมาก มีการชะล้างสูง หรือใช้ไม่เหมาะกับผิว
  • น้ำอุ่นจัด
  • แชมพู
  • เชื้้อยีสต์, เชื้อรา
  • ภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง อ่อนแอ พักผ่อนน้อย ร่างกายไม่แข็งแรง

 

วิธีดูแลและป้องกันสิวผด

หาสาเหตุให้พบและดูแลเลือกวิธีป้องกันให้เหมาะสม เช่น ถ้าสิวผดจะขึ้นบ่อยเมื่อเจอแสงแดด ก็เลี่ยงแดดซะ หรือ ถ้าสิวผดจะขึ้นตอนแต่งหน้า ให้เปลี่ยนรองพื้น หรือใช้ผลิตภัณฑ์อื่นแทนเช่น BB หรือที่ผ่านการรับรองจากกลุ่มแพทย์ผิวหนัง

 

  • เลี่ยงแสงแดด และ ความร้อน ถ้าต้องทำงานต้องทาครีมกันแดดทุกครั้งที่เหมาะกับสภาพผิว เลือกที่ปราศจากน้ำมัน และไม่ทำให้เกิดสิว ( OIL FREE / NON COMEDOGENIC ) SPF30 PA+++ ขึ้นไป
  • เลิกรบกวนผิวหน้ามากเกินไปไม่ว่าจะ ล้างหน้า ขัดหน้า นวดหน้าพอกหน้า ถูหน้า บ่อยเกินความจำเป็น
  • เลิกใช้อะไรที่รุนแรงกับผิว ทำให้ผิวระคายเคือง
  • แต่งหน้าให้น้อยที่สุด
  • เลิกใช้น้ำอุ่นล้างหน้า
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงให้ร่างกายได้ซ่อมแซม
  • ไม่เครียดเพราะจะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ
  • ทานผัก ผลไม้ ข้าวไม่ขัดขาว แป้งไม่ขัดขาว ได้กากใย ได้วิตามิน ง่ายต่อการระบาย ช่วยล้างพิษในร่างกาย
  • ใช้แชมพูอ่อนโยน

 

วิธีรักษา

คำเตือน ควรอยู่ในความควบคุมของคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ อย่างแพทย์ผิวหนัง หรือ เภสัชกรยา เพราะครีมบางตัวเป็นยาปฎิชีวนะ หรือ สเตียรอยด์ มีผลข้างเคียงสูงหากซื้อใช้เองโดยไม่ได้รับคำแนะนำ 

ยาปฎิชีวนะบางตัว อาจทำให้ดื้อยา 

ยาที่มีสเตียรอยด์ อาจทำให้หลอดเลือดขยาย หน้าแดง แพ้ง่าย ผิวบอบบางลง สิวจะเห่อขึ้นเต็มและรักษายาก

 

สำหรับคนผิวหน้ามัน ผิวธรรมดา ที่ไม่แพ้ง่าย

  • ตัวยา Benzoyl peroxide % ต่ำ ทาก่อนล้างหน้า 2-5 นาที อาจทำให้เกิดการระคายเคือง ผิวแห้ง หน้าเห่อแดง
  • ตัวยา กรดวิตามิน A (Tretinoin) % ต่ำๆ ทาก่อนนอน อาจทำให้เกิดการระคายเคือง ผิวแห้ง หน้าเห่อแดง หน้าไวแสง

 

สำหรับคนผิวแห้ง ผิวผสมที่มีส่วนแห้ง ผิวแพ้ง่าย

  • ตัวครีมหรือยาที่มีส่วนผสม Resorcinol ที่เป็นครีมหรือแป้งน้ำ
  • ตัวครีมหรือยาที่มีส่วนผสม Selenium Sulfide ทาทิ้งไว้แล้วล้างออกวันละสองครั้ง ละลายหัวสิว สิวอุดตัน สลายเคราติน ลดสิวผด
  • ตัวครีมหรือยาที่มีส่วนผสม Ketoconazole cream ทาก่อนนอน ในกรณีมีสิวผดมาก มีอาการคัน หรือ สิวผดที่เกิดจากเชื้อยีสต์
  • ตัวครีมหรือยาที่มีส่วนผสม Steroid มักใช้ในกรณีแพ้เครื่องสำอาง หรือผิวระคายเคืองขึ้นผื่นเห่อ บวมแดง
  • ตัวครีมหรือยาที่มีส่วนผสม Zinc PCA

 

การทานยาร่วมด้วย

  • หากมีการอักเสบร่วมด้วย อาจต้องทานยาแก้อักเสบ
  • หากมีการคันร่วมด้วย อาจต้องทานยา เช่น KETOTOP

 

การรักษาใช้เวลา

2-4 สัปดาห์ หรือมากกว่านี้ขึ้นกับว่าเป็นมากเป็นน้อย

* ข้อมูลทั้งหมด จากประสบการณ์ตรงที่ครั้งนึงเคยเป็นสิวผดมากและบ่อยจากการแพ้ยาสระผม และ จากการอ่านศึกษาข้อมูลจากเว็บและผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง รวบรวม และ เขียนขึ้นมาโดยเอิ๊กทั้งหมดค่ะ

แหล่งข้อมูลศึกษาเพิ่มเติม

  • ศ.นพ. วรพงษ์ มนัสเกียรติ
  • ผศ.พญ. รังสิมา วณิชภักดีเดชา
  • พญ.ดลลชา นรินทรางกูร ณ อยุธยา 
  • ผศ.พญ.สุวิรากร โอภาสวงศ์ 
  • ASTVผู้จัดการออนไลน์ 
  • aad.org
  • emedicinehealth.com

Posted in ACNE, SKINComments (1)


advert

Google

erk-erk.com





BEAUTY MENU

มาคุยกับเอิ๊กได้ที่นี่ทุกวัน ถ้าว่างรีบตอบทุกคำถามค่ะ

INSTAGRAM @wwwerkerkcom

[instagram-feed]

ติดตามบล็อค erk-erk.com อย่างใกล้ชิด

เพียงกรอก Email ตรงนี้เลย

LINE @erk-erk

เพิ่มเพื่อน

Related Sites