Categorized | REVIEW, SURGERY

วิธีรักษาฝ้า 2021 | Clubhouse

ความเจ็บปวดของคนเป็นฝ้า

จะเข้าใจดีว่าพยายามมาทุกวิธียังไม่มีวิธีหายขาด

ความจริงถูกต้องแน่นอนว่าฝ้า

ยังไม่มีวิธีไหนสามารถรักษาให้หายขาดได้ 100%

 

ลักษณะของฝ้าและสาเหตุ

CREDIT PHOTOS : GOOGLE

ฝ้า หรือ บางคนอาจจะนิยามว่ารอยน้ำตาลดำ หรือเทาน้ำเงินขนาดใหญ่ที่อยู่บนหน้า

บนแก้ม มักเป็นสองข้าง แต่อาจจะเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ มีลักษณะเป็นปื้น

ซึ่งสาเหตุเกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีทำงานมากขึ้นโดยมีรากมาจาก

1.ฮอร์โมน

2.แสงแดด 

Note* มักเกิดในคนเอเชีย หรือ เชื้อชาติคนที่มีสีผิวเข้ม (ฝรั่งไม่ค่อยเป้น)

และ ถ้ามีโอกาสคนในครอบครัวเป็นก็อาจจะเป็นมากขึ้น

 

ถึงแม้ว่ายังไม่มีวิธีการไหนรักษาฝ้าได้หายขาด แต่เราทำให้มันสงบนานขึ้นได้ ทั้งหมอใช้วิธี คนไข้ร่วมมือ การทาครีมกันแดดมีส่วนช่วยร่วมกันหมด และถึงแม้ว่าฮอร์โมนเพศหญิงจะมีส่วนเกี่ยวกับฝ้า (เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีทำงานเยอะ) แต่บางครั้งพออายุมากขึ้นมันหายไปเอง(เพราะการสร้างเม็ดสีไม่ทำงานหรือทำงานน้อยลง)

 

ความแตกต่างการเกิดฝ้าของเพศ

ผู้หญิง ฮอร์โมนเพศหญิงจะเข้ามาเกี่ยว

ผู้ชาย ส่วนใหญ่เกิดจาก UV

แต่หน้าตาฝ้าโดยรวมจะคล้ายกันยกเว้นอาจมีแค่บางชนิดที่ต่างกัน

เพศชายรักษาฝ้ายากกว่า (เพราะผู้ชายขี้เกียจทายา ใส่หมวก หลบแดด)

การรักษาหลัก

ฝ้าทางการแพทย์ไม่มีการแบ่งชนิดฝ้า จะเรียกทุกแบบว่า ฝ้าหมด แต่เวลาแพทย์ดูอาจจะมีการแบ่งชนิดจากตาตัวเอง เช่น ฝ้าผสม ฝ้าลึก ฝ้าเลือด สำหรับการรักษานั้นอาจรักษาฝ้าที่เห็นชัดแบบตื้นก่อนค่อยมารักษาฝ้าลึก ฝ้าที่เกิดจะมีทั้งชั้นหนังกำพร้า ชั้นตื้น รวมถึงอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงชั้นหนังแท้ด้วยทั้งหลอดเลือดและเซลล์ก็ต้องรักษารวมกันแนวทางเดียวกัน

1.ทายาภายนอก

เช่น ไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอ  Azelaic Acid

(ซึ่งการทายาอาจใช้เวลาประมาณ3เดือนถึงจะเห็นผล)

หรือ เวชสำอาง (cosmeceutical products) ซึ่งมีเยอะมาก

(มองหาผลิตภัณฑ์ WHITENING / BRIGHTENING)

ส่วนใหญ่เวชสำอางที่ทำให้ผิวขาวช่วยรักษาได้บ้างให้เม็ดสีทำงานน้อยลง

แต่ผลลัพธ์ไม่เท่ายาแน่นอนอาจต้องรอเวลาเห็นผลนานกว่า

(สำหรับถ้าใช้วิธีทาแล้วไม่ได้ผลถ้า 6 เดือนไม่ดีขึ้นดูการประพฤติตัวอื่นร่วมด้วย

เช่นหลบแดด กันแดดเราทำดีไหม ถ้าดีแล้วแสดงว่า ทายา ทาครีมอาจจะไม่ผล)

 

การทากันแดดสำคัญมากหัวใจหลักในการดูแลฝ้าเช่นกัน *

คุณหมอแนะนำPhysical Sunscreen และ ควรหลบแดดร่วมด้วย

จะกางร่ม ใส่หมวก ใส่เสื้อผ้าสีเข้มเนื้อหนา

 

2. ยาทาน ยาฉีด

เช่น tranexamic acid (ยาต้านลิ่มเลือด) ผลดีแต่ไม่ทุกคน

บางคนมีผลข้างเคียงมีลิ่มเลือดอุดตัน อาจต้องระวัง

ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ โดสปกติที่ใช้คือ

250 มิลลิกรัม ทาน 2 ครั้งต่อวัน

(ทั้งทานและฉีดคนไข้ต้องไม่มีโรคหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง

อัมพฤก อัมพาต เส้นเลือดขอด โรคเสี่ยงกับการอุดตันหลอดเลือด)

แพทย์สมัยใหม่อาจจะไม่นิยมฉีดเท่าไหร่

เพราะมีผลข้างเคียง เช่น เสี่ยงรอยคล้ำกว่าเดิม และ

เจ็บมาก เพราะฉีดที่ผิวชั้นตื้น 50-100 ครั้ง

 

3. เทคโนโลยีเลเซอร์

เลือกจัดการกับเม็ดสีให้แตกโดยตรงแต่ไม่ได้ลดช่วยลดกลไกการสร้างเม็ดสี

แบบต่อเนื่องเหมือนเราขยันทาครีมและกันแดด

เราจึงเน้นทายา ทากันแดดเป็นหลักก่อน

 

การเลือกใช้เลเซอร์ควรเป็นเฉพาะต่อเมื่อ

เรารักษาดีที่สุดใช้ทุกอย่างแล้วดูแลตัวเองอย่างเต็มที่

แต่ยังไม่ได้ผลเท่าที่เราพอใจ

เราสามารถลองเลเซอร์เพื่อพัฒนาผลการรักษาได้

ซึ่งปกติแพทย์เฉพาะทางจะเลือกใช้เลเซอร์เป็นวิธีสุดท้าย

เลเซอร์จะแบ่ง 2 กลุ่ม

1. กลุ่มทำลายการสร้างเม็ดสี

2.กลุ่มที่ทำการกรอผิวเป็นส่วนๆออกไป(อาจจัดการกับเม็ดสีออกได้บ้าง)

แต่ผลรักษาอยู่ได้ไม่นาน ไม่ตลอดไป คือ ถ้าหยุดอาจจะมีฝ้ากลับขึ้นมาอีก

สำหรับการใช้เลเซอร์ต้องระวังผลข้างเคียง ถ้าพลังงานน้อยไปก็ไม่หาย

พลังงานมากไปอาจจะทำให้เม็ดสีตาย เป็นจุดขาวเกิดๆ จะรักษายากว่า

ส่วน งานวิจัยล่าสุดการรักษาเลเซอร์ชรนิด

PICO อาจจะทำให้ฝ้าจางจริง แต่ก็กลับมาได้ภายในเวลา 6 เดือน

เเลเซอร์ที่มักนิยมดูแลฝ้า เช่น IPL / Q SWITCH / PICO SECOND LASER

 

แสงที่ควรระวัง

แสงUVA

แสงUVB

แสงINFRARED (ความร้อนสูง เช่น อาชีพเชฟ อาชีพหน้าเตา)

แสงINVISABLE LIGHT 

ก็มีผลการกระตุ้นเซลล์สร้างเม็ดสีได้

พวกมือถือ หรือ จอคอมอาจไม่มีรายงานทางวิจัย

ถึงผลกระทบชัดเจน บอกว่ามันน้อยมาก คือเทียบเท่า

เราใช้หน้าจอไม่พักเลยตลอด 1 สัปดาห์อาจจะเท่า

การเจอBLUELIGHTเวลาตากแดด 1 นาที

แต่ถ้าเราไม่สบายใจจริงๆ ยังกังวล

ลองหาที่กรองแสงกลุ่ม BLUELIGHT

หรือ เปิด NIGHT MODE กรองแสงช่วยได้ และ

 

สำหรับคนที่มีฝ้าอยู่แล้วอาจละ

การใช้โทรศัพท์แนบแก้มเพราะ BLUELIGHT

สัมผัสโดยตรงและมีความอุ่นร้อน อาจทำให้ฝ้าเข้มขึ้น (ศึกษาIPL)

พญ.พักตร์พิไล ทวีสิน

( ส่วนตัวเรื่อง แอบคิดเรื่องความร้อนกับแสวสีฟ้าเพราะที่บ้าน

มีของเล่นพวก LED สีฟ้า + ความร้อนโดยตรง

ไว้ใช้ช่วงเป็นสิวแต่สรุปคือสิวดีขึ้นแต่เป็นรอยดำไวขึ้น

อยู่นานขึ้น จากประสบการณ์ส่วนตัวก็คิดว่าเกี่ยวมาก

PM 2.5 มีสิทธิ์ทำให้เกิดการกระตุ้นการสร้างเม็ดสีได้ และ ริ้วรอยเกิดขึ้นได้

 

ยาคุม กับ ฝ้า

ถ้าเราทานอาจมีโอกาสที่ทำให้เม็ดสีที่เพิ่มขึ้น เพราะมีฮอร์โมนสำคัญ

คือ เอสโตรเจน กับ โปรเจสเตอโลน

ถ้าเราหลีกเลี่ยง เอสโตรเจนในปริมาณสูงได้ คือ ทานปริมาณต่ำ

อาจจะช่วยลดโอกาสการเกิดฝ้าได้

หมอสูติแนะนำ YAZ YAZMIN หรือ จะเป็นยาคุมชนิดที่มีโปรเจนตินเท่านั้นก็เวิค

ลองเลือกดู ยังไงให้ดีสังเกตการเปลี่ยนแปลงใบหน้าที่กระจกสม่ำเสมอ

อีกประเภทอาจใช้แบบห่วงสอดที่มีแต่โปรเจสเตอโลนอย่างเดียวได้

 

คนท้อง กับ ฝ้า

คนท้องบางคนมีโอกาสเกิดฝ้า ต้องหมั่นทากันแดด

ยังไงรอคลอดก่อนมารักษายังทัน

ให้อดทน รอจาง ถึงแม้ว่าอาจใช้เวลานานเป็นปี

เพราะตอนท้องมีฝ้า ตอนคลอดบางทีหายเอง

ส่วนยาทาอาจจะใช้ยา Azelaic Acid พอได้

หรือ กลุ่มเวชสำอาง

 

ส่วนผู้ชายท่านไหนทานยาที่ช่วยเรื่องฮอร์โมนเพศหญิง

จะมีความเสี่ยงการเกิดฝ้ามากกว่าเพศชายที่ไม่ได้ทาน

 

สรุปจาก #CLUBHOUSE #CLUBHOUSETH

ห้องใครไม่แคร์ SKIN CARES ตอน ห้องปลดทุกข์ของคนเป็นฝ้า

SPEAKER

ศาสตราจารย์นายแพทย์วรพงษ์ มนัสเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านตจวิทยา หรือ ว่าผิวผิวหนัง รวมถึงเป็นอาจารย์แพทย์ และ นักวิจัย จากรพ ศิริราช

ว่าที่ศาสตราจารย์แพทย์หญิงรังสิมา วณิชภักดีเดชา วณิชภักดีเดชา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง อาจารย์แพทย์ และ นักวิจัย  จากรพ ศิริราช

รองศาสตราจารย์นายแพทย์ วาสนภ วชิรมน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์เป็นผู้ที่เขียนตำราเรื่องฝ้า เล่มแรกและเดียวในไทยซึ่งกำลังจะออกจำหน่าย

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

advert

Google

erk-erk.com





BEAUTY MENU

มาคุยกับเอิ๊กได้ที่นี่ทุกวัน ถ้าว่างรีบตอบทุกคำถามค่ะ

INSTAGRAM @wwwerkerkcom

[instagram-feed]

ติดตามบล็อค erk-erk.com อย่างใกล้ชิด

เพียงกรอก Email ตรงนี้เลย

LINE @erk-erk

เพิ่มเพื่อน

Related Sites